วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

...การจับไม้เทนนิส...



วันนี้ผมนำการจับไม้เทนนิสในแบบต่างๆที่ถูกวิธีมาให้ลองศึกษากันดูนะครับ   (◕‘_’◕)

การจับไม้เทนนิสที่ถูกหลัก  จะทำให้การตีลูกมีประสิทธิภาพและแม่นยำ  การจับไม้เพื่อตีลูกในลักษณะต่างๆ  จะใช้ฐานนิ้วชี้ของมือข้างที่กำไม้ สัมผัสกับด้านต่างๆ ทั้งแปดของด้ามไม้เทนนิส เป็นตัวอ้างอิง  ซึ่งด้านทั้งแปดหรือที่เรียกว่า กริพ(GRIP) ได้แก่ ส่วนบน(Top), ส่วนล่าง(Bottom), ด้านขวา(Right side), ดัานซ้าย(Left side), Bevel 1(ด้านเอียงที่ 1), Bevel 2, Bevel 3 และ Bevel 4





"กริพที่คุณจับ จะขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตีลูกแบบไหน"
โดยพื้นฐานแล้ว  จะแบ่งกริพเพื่อใช้ตีลูกในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.        CONTINENTAL GRIP  คือ กริพเดียวที่สามารถใช้ได้กับการตีทั้งหมด  แต่ก็ไม่ใช่กริพที่นิยมฝึกกันในหมู่ผู้เล่นรุ่นใหม่ๆ เพราะหากเล่นแบบพลิกแพลงเทคนิคจะทำได้ไม่ดีเท่าใดนัก  อย่างไรก็ตาม Continental grip ยังคงเป็นพื้นฐานของการใช้เสิร์ฟ, การวอลเล่ย์, การ Smash หรือตีลูกเหนือศีรษะ, การตีลูกสไลด์  และการตีลูกเพื่อการป้องกัน
การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านเอียงที่ 1 (bevel 1)  หรือ Bevel 4 สำหรับคนตีมือซ้าย
ข้อดี:  ลูกที่ตีออกเป็นแบบ flat ที่พุ่งตรงและแรง  การช่วยในเกมส์รับได้ดี โดยเฉพาะจังหวะที่ต้องการความรวดเร็ว  เป็นกริพมาตรฐานที่ใช้ในการเสิร์ฟและการวอลเล่ย์ของนักเทนนิส
ข้อเสีย:  เป็นเรื่องยากที่จะใช้ตีลูกแบบ topspin  นั่นหมายถึง การตีลูกที่ต่ำกว่าระดับเน็ตจะทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก
2.        EASTERN FOREHAND GRIP
การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านขวาของด้าม(right side)  หรือ Left side สำหรับคนตีมือซ้าย  วิธีง่ายๆ ที่ใช้หา Eastern Forehand Grip  คือ ให้ทาบฝ่ามือข้างที่ใช้ตีลงบนหน้าไม้เทนนิส(บนหน้าเอ็น)  แล้วรูดฝ่ามือลงมาหาด้ามไม้ที่จับ  จะพบว่าฐานของนิ้วชี้จะตรงกับตำแหน่งของ Eastern forehand grip
ข้อดี:  อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกริพที่ง่ายที่สุดสำหรับการตีลูกโฟแฮนด์  การตีลูกได้ทั้งแบบ topspin หรือแบบ flat  การเปลี่ยนจาก Eastern forehand grip ไปเป็นกริพอื่นๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว  ทำให้เป็นทางเลือกที่ฉลาดของผู้เล่นที่นิยมขึ้นตีหน้าเน็ต
ข้อเสีย:  จุดตีจะกว้างออกไปมากกว่า Continental grip  การตีลูกสูงทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก  และลูกที่ตีมีแนวโน้มทีจะเป็น flat มากกว่า  ลูกจะติด topspin ได้ไม่เต็มที่
3.        SEMI-WESTERN FOREHAND GRIP
การจับ:  จาก Eastern forehand grip ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้าย ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
ข้อดี:  การตีลูกแบบ topspin ทำได้ดีกว่ากริพที่ผ่านมา  ซึ่งทำให้ลูกมีโอกาสโค้งผ่านหน้าเน็ตมากกว่า
ข้อเสีย:  มักประสบกับปัญหากับการตีลูกที่ต่ำและใกล้ตัว
4.        WESTERN FOREHAND GRIP  คือ  กริพสุดท้าย(สุดโต่ง) ของการตีลูกโฟร์แฮนด์  นิยมใช้กันในหมู่ผู้เล่นบนคอร์ดดิน และเยาวชนรุ่นใหม่ๆ  นักเทนนิสมืออาชีพที่ใช้ เช่น  Rafael Nadal
การจับ:  จาก Semi-Western forehand grip  ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้ายให้หมุนในทิศทางตรงกันข้าม
ข้อดี: แรงจากการตวัดข้อมือที่จับโดยกริพนี้  จะติด topspin ได้รุนแรงที่สุด  ลูกที่กระทบพื้นจะกระดอนออกต่อค่อนข้างแรง  มีโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามต้ิองถอยกลับไปตั้งรับหลังเส้นลึกขึ้น
ข้อเสีย:  ลูกบอลจากฝั่งตรงข้ามที่ตีมากระทบพื้นแล้วกระดอนต่ำและเร็ว(โดยเฉพาะบนฮาร์ดคอร์ต)  เป็นอุสรรคต่อผู้่เล่นที่จับกริพนี้เป็นอย่างมาก  ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เล่นต้องใช้ความรวดเร็วในการสโตรค(stroke) บวกกับกำลังข้อมือมหาศาล  ในการตีบอลที่จุดกระทบและ topspin ให้ทัน
5.        EASTERN BACKHAND GRIP
การจับ:  วางฐานของนิ้่วชี้ที่ส่วนบนสุดของกริพ(top)
ข้อดี:  เป็นกริพอเนกประสงค์ของการตีลูกแบคแฮนด์  ผู้เล่นบางคนใช้ตีลูกสไลด์ หรือไม่เช่นนั้นก็สามารถพลิกไปเป็น Continental grip ได้อย่างรวดเร็ว  Eastern backhand grip ยังใช้เป็นกริพสำหรับการเสิร์ฟแบบ Kick serves
ข้อเสีย:  การตีลูกที่พุ่งมาสูงกว่าระดับไหล่ทำได้ไม่ค่อยดีนัก  บ่อยครั้งที่ทำให้ผู้เล่นต้องตีลูกแบบสไลด์กลับไปโดยบังคับ  รวมไปถึงจุดอ่อนของ Kick serves  ที่ฝั่งตรงข้ามมักจะรีเทิร์นลูกกลับมาในช่วงจุดตีที่สูงกว่าระดับไหล่
6.        EXTREME EASTERN OR SEMI-WESTERN BACKHAND GRIP
การจับ:  ที่ bevel 4 สำหรับมือขวา  หรือ bevel 1 สำหรับมือซ้าย
ข้อดี:  จุดที่ขยายออกไป  ทำให้การตีลูกที่สูงกว่าระดับไหล่ทำได้คล่องกว่ากริพแบคแฮนด์ที่ผ่านมา รวมถึงการ topspin
ข้อเสีย:  คล้ายกันกับการจับ Weatern forehand grip  ตรงที่ตีลูกต่ำได้ไม่ค่อยดี
7.        TWO-HAND BACKHAND GRIP
การจับ:  วิธีจับสำหรับการตีลูกแบคแฮนด์สองมือวิธีหนึ่ง  คือ ใช้มือขวาจับไม้ที่ Continental grip ช่วงด้านบน  และมือซ้ายจับไม้ที่ Semi-Western forehand grip ช่วงด้านล่าง(สำหรับคนถนัดซ้ายให้จับตรงกันข้ามกัน)
ข้อดี:  เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะตีแบคแฮนด์มือเดียว  สามารถตีลูกพุ่งต่ำได้ดี รวมถึงการตีลูกระดับไหล่ที่ใช้ทั้งสองมือประคองช่วยกัน
ข้อเสีย:  ช่วงตีสั้นกว่าการตีแบคแฮนด์มีเดียว  การมีมือข้างที่สองช่วยประคองเป็นการล็อคหน้าไม้ไว้ ทำให้ไม่สามารถตีลูกวอลเลย์และลูกสไลด์ได้

แอนดี้   ร็อดดิก

ราฟาเอล   นาดาล

คาลอส   โมย่า

เจอร์เก้น   เมลเซอร์

โรเจอร์   เฟดเดอเรอร์


การเลือกจับด้านกริพ  ให้คำนึงถึงธรรมชาติในตัวคุณ(คุณเป็นผู้รู้ตัวดีที่สุด)  หาด้านกริพที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและเข้ากับตัวคุณมากที่สุดเวลาเล่น  นั่นแหละคือกริพของคุณ


...จบแล้วสำหรับวิธีการจับไม้เทนนิสที่ถูกวิธีนะครับ ครั้งหน้าผมจะนำเคล็ดวิธีเกี่ยวกับการเล่นเทนนิสอะไรมาฝากอีกบ้าง ติดตามชมนะคร้าบบบบบบ   

(◕‿◕✿)


*.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:*

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติเทนนิสแกรนด์สแลม


ครั้งนี้นำประวัติเทนนิสแกรนด์สแลมมาฝากกันนะครับ (≧▽≦)

โรเจอร์ เฟดเดอร์เรอร์ นัดหวดจากแดนนาฬิกา
ปัจจุบันมือวางอันดับ3ของโลก



แกรนด์สแลม เป็นชื่อเรียกการแข่งขันเทนนิสรายการใหญ่ที่สุด 4 รายการของโลก บนพื้นผิวคอร์ทและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย
  • ออสเตรเลียนโอเพน แข่งขันในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ประเทศออสเตรเลีย บนฮาร์ดคอร์ท
  • เฟรนช์โอเพน แข่งขันในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่ประเทศฝรั่งเศส บนคอร์ทดิน
  • วิมเบิลดัน แข่งขันในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ที่ประเทศอังกฤษ บนคอร์ทหญ้า
  • ยูเอสโอเพน แข่งขันในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา บนฮาร์ดคอร์ท

ราฟาเอล นาดาล เจ้าแห่งคอร์ทดิน
ปัจจุบันมือวางอันดับ2ของโลก

คำว่าแกรนด์สแลมถูกใช้ในวงการเทนนิสเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933  โดยจอห์น คีราน คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ในปัจจุบันทั้งสี่รายการใช้เวลาแข่งขันสองสัปดาห์ ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวจะมีนักเทนนิสเข้าร่วมแข่งขันในรอบเมนดรอว์ 128 คน นั่นคือผู้ชนะเลิศต้องชนะติดต่อกัน 7 ครั้งติดต่อกันจึงจะได้ครองตำแหน่ง



โนวัค ยอโควิช แชมป์ชายเดี่ยววิมเบิลดันปี 2011
ปัจจุบันมือวางอันดับ1ของโลก

นอกจากจะเป็นชื่อเรียกรายการแข่งขันแล้ว แกรนด์สแลมยังถูกนำมาใช้เรียกแสดงความประสบความสำเร็จของนักเทนนิสที่ชนะเลิศครบทั้งสี่รายการ ความแตกต่างกันของพื้นผิวสนามและสภาพอากาศ (ออสเตรเลียนโอเพนอากาศร้อน วิมเบิลดันมักมีฝนตก ยูเอสโอเพนอากาศเย็น) ทำให้เป็นการยากที่นักเทนนิสคนใดจะได้แกรนด์สแลม และยากยิ่งขึ้นถ้าจะชนะทั้งสี่รายการในปีเดียวกัน ในประวัติศาสตร์มีนักเทนนิสประเภทเดี่ยวเพียงห้าคนที่ชนะเลิศแกรนด์สแลมทุกรายการในปีเดียวกัน คือ ดอน บัดจ์ และ รอด เลเวอร์ ในประเภทชายเดี่ยว มัวรีน คอนนอลลี, มาร์กาเรต สมิธ คอร์ท และ สเตฟี กราฟ ในประเภทหญิงเดี่ยว


จบแล้วครับสำหรับประวัติเทนนิสแกรนด์สแลม ครั้งหน้าพบกันใหม่ แล้วคอยติดตามชมว่าผมจะนำเกร็ดความรู้อะไรเกี่ยวกับเทนนิสมาฝากกันอีกบ้าง...สวัสดีครับ^^

               ×º°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º× ×º°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º× ×º°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º×