วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความปริญญาเอกพลศึกษา

หัวข้อวิทยานิพนธ์                   ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา
โดย                                          นายนภพร        ทัศนัยนา
ภาควิชา                                   พลศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต

1.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
            เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา  ปัจจัยคัดสรรที่นำมาศึกษาครั้งนี้  ประกอบด้วย  อายุ  ระดับความสามารถ  ประสบการณ์แข่งขัน  ศรัทธาที่มีต่อผู้ฝึกสอน  ความสำคัญของการแข่งขัน  เป้าหมายของการแข่งขัน  ความพร้อมในการฝึกซ้อมความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ  ผลการแข่งขันและการทดสอบที่ผ่านมา  บรรยากาศในการจัดการแข่งขัน  ความกลัว  ความยากของความสำเร็จ  ความคาดหวังในความสำเร็จ  ความเชื่อมั่นในตนเองความวิตกกังวลทางกาย  และความวิตกกังวลทางจิต

2.กรอบแนวคิด
            การล่าระดับปัจจัยสาเหตุและเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ  สร้างขึ้นโดยอาศัยการวิเคราะห์และสังเคราะห์  เอกสาร  ผลการวิจัย  ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ  และสร้างแบบจำลองตามกรอบแนวคิดไว้ดังนี้

3.ขอบเขตของการวิจัย
            เนื่องจากความจำกัดหลายประการ  การวิจัยนี้จึงกำหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ดังนี้
            1.การวิจัยนี้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักกีฬา  กรีฑา  ว่ายน้ำ  และจักรยาน
            2.ปัจจัยที่ศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย  อายุ  ระดับความสามารถ  ประสบการณ์ในการแข่งขัน  ศรัทธาที่มีต่อผู้ฝึกสอน  ความสามารถของการแข่งขัน  เป้าหมายของการแข่งขัน  เป้าหมายของการแข่งขัน  ความพร้อมในการฝึกซ้อม  ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ  ผลการแข่งขันทดสอบที่ผ่านมา  ความกลัว  บรรยากาศการจัดการแข่งขัน  ความยากของความสำเร็จ  ความคาดหวังในความสำเร็จ  ความเชื่อมั่นในตนเองความวิตกกังวลทางกาย  และความวิตกกังวลทางจิต
            3.การวิจัยนี้มุ่งศึกษาด้านจิตวิทยา  ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ  ประเมินจากความรู้สึกและความพึงพอใจ  ของนักกีฬาแต่ละช่วงในช่วงก่อนการแข่งขัน

4.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
            1.ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ฝึกสอน  ผู้จัดการทีมและนักกีฬาในการเตรียมนักกีฬาช่วงก่อนการแข่งขันให้นักกีฬามีระดับปัจจัยต่างๆ  ที่เอื้ออำนวยต่อผลสำเร็จในการแข่งขันกีฬา  ตามลักษณะและทิศทางของผล  ที่ปัจจัยนั้นมีต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา
            2.การบุกเบิกความรู้ทางด้านจิตวิทยาการกีฬา  โดยเฉพาการศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา
8.2.2.5.วิเคราะห์ผลทางตรง  และทางอ้อมโดยการสร้างโปรแกรมคำนวณตามาวิธีการนำเสนอโดยเพดาเซอร์  (Pedhazur,1982)
8.3.วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
            8.3.1.การวิเคราะห์องค์ประกอบ  วิเคราะห์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม ของสถาบันคอมพิวเตอร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ด้วยโปรแกรม Spss
            8.3.2.การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรายคู่วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิเคราะห์ผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยโปรแกรม SPSSPC+
8.3.3.วิเคราะห์สอดคล้องของแบบจำลองและวิเคราะห์ผล  ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  โดยใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้นด้วย โลตัส (LOTUS)
9.สรุปผลการวิจัยแบบจำลองตามสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ผู้วิจัยจึงปรับแบบจำลองใหม่  โดยผสมผสานระหว่างทฤษฏีและการปฏิบัติ  ด้วยการตัดเส้นทางตามสมมติฐานที่มีประสิทธิภาพเส้นทางต่ำกว่า .05 ออก  และเพิ่มเส้นทางที่มีในสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบจำลองเต็มรูปแบบในแบบจำลองแบบใหม่  ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับแบบจำลองให้ได้แบบจำลองที่ประหยัด (Parsimonious  Model) ผู้วิจัยจะตัดเส้นทางที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางต่ำกว่า .05  ออกแบบจำลองปรับใหม่  จนได้แบบจำลองที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางทุกเส้นทางไม่ต่ำกว่า.05ต่อจากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ผลพบว่า
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันมากที่สุด  และรองลงมาตามลำดับดังนี้
1.เป้าหมายของการแข่งขันกีฬา  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.356จำแนกเป็นผลทางตรง.322และผลทางอ้อม.034
2.ความวิตกกังวลทางจิต  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา-.250  โดยส่งผลทางตรงทั้งหมด
3.ผลการแข่งขันในการทดสอบที่ผ่านมา  โดยส่งผมรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา .181จำแนกเป็นผลทางตรง.123และผลทางอ้อม.058
4.ระดับความสามารถโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.181เป็นผลทางอ้อมทั้งหมด
5.ประสบการณ์แข่งขันโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในกรแข่งขันกีฬา.169จำแกเป็นผลทางตรง.190และผลทางอ้อม-.021
6.ความคาดหวังในความสำเร็จโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.155จำแนกเป็นผลทางตรง.144และผลทางอ้อม.011

5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยนี้  ประกอบด้วยนักกีฬากรีฑา  ว่ายน้ำ  และจักยานที่เข้าร่วมแข่งขันมหกรรมกีฬาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยนานาชาติ   ณกรุงเทพมหานครจำนวน  1226  คนผู้วิจัยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มเลือกแบบง่าย(sampling) ได้
กลุ่มตัวอย่าง 296 คน จำแนกเป็นนักกรีฑา 177 คน แยกเป็นชาย 103 คน หญิง 74 คน นักกีฬาว่ายน้ำ
 93 คน แยกเป็นชาย  55  คน  หญิง  38  คน  และนักกีฬาจักรจักยาน 26 คน แยกเป็นชาย 18 คน
หญิง 8 คน

 6.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา                       ซีเอสเอไอ 2 (CSAI – 2) ซึ่งผู้วิจัยแปลจาก  มาร์เต็น  วีลเลย์  และเบอร์ตัน                 (Martens,Vealey,and Burton,1990)  และแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง
            แบบวัด ซีเอสเอไอ 2  ผู้วิจัยได้แปลแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คนตรวจสอบความถูกต้องนำไปทดลองใช้กับนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในกองทับบก  จำนวน 60  คน ได้ค่าความเที่ยง 0.75  และนำไปทดลองใช้กับนักกีฬาที่แข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2535 ณ  จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 438 คน ได้ค่าความเที่ยง 0.80
แบบวัดปัจจัยคัดสรรผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คนตรวจสอบและนำไปทดลองใช้กับนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันภายในกองทัพบก  จำนวน60คน  ได้ค่าความเที่ยง0.86 และนำไปทดลองกับนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ
                                                                                                                                                                  
ประจำปี   2545 จำนวน 438 คน ได้ค่าความเที่ยง 0.88 แบบวัดปัจจัยคัดสรรมีจำนวน  50 ข้อ แต่เมื่อนำมาวิเคราะห์ตัวประกอบแล้ว   เหลือข้อคำถามที่นำไปใช้ในการวิจัยได้

7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้มอบหมายให้พนักงานแจกแบบสอบถามและแบบวัดที่ใช้ในการวิจัย  แก่นักกีฬา
ที่มีรายชื่อตามบัญชีสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  โดยให้นักกีฬาดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ก่อนลงท่าการแข่งขันในแต่ละภาคเช้าหรือภาคบ่าย



8. สถิติและการวิเคราะห์
            8.1   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เครื่องมือในการวิจัย
8.1.1   ความเที่ยงของแบบวัดปัจจัยคัดสรร และแบบวัดความวิตกกังวนในการแข่งขันกีฬา
ใช้วิธีการทางสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาท
8.1.2การจัดกลุ่มและสกัดข้อประเด็นคำถามในแบบวัดปัจจัยคัดสรรใช้วีธีวิเคราะห์
ตัวประกอบหลัก (principle component method)  หมุนแกนแบบออร์ธอ
โกนอล(Orthogonal) ด้วยวิธี (varimax)
8.2.1 การบรรยายข้อมูลพื้นฐาน ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด
8.2.2 การวิเคราะห์เส้นทาง
8.2.2.1 วิเคราะห์ควานสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรายคู่ โดยวิธีเพียร์สันโปรตักโมเมนต์
8.2.2.3 วิเคราะห์ทดถ่อยพหุคูณ  แบบบังคับทุกคัวแปรอิสระ ข้าพร้อมกัน
8.2.2.4 ทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลอง โดยวิธีการทางสเป็คค(specht)
8.2.2.5.วิเคราะห์ผลทางตรง  และทางอ้อมโดยการสร้างโปรแกรมคำนวณตามาวิธีการนำเสนอโดยเพดาเซอร์  (Pedhazur,1982)
8.3.วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
            8.3.1.การวิเคราะห์องค์ประกอบ  วิเคราะห์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม ของสถาบันคอมพิวเตอ0ร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ด้วยโปรแกรม Spss
            8.3.2.การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรายคู่วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิเคราะห์ผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยโปรแกรม SPSSPC+
8.3.3.วิเคราะห์สอดคล้องของแบบจำลองและวิเคราะห์ผล  ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  โดยใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้นด้วย โลตัส (LOTUS)

9.สรุปผลการวิจัย
แบบจำลองตามสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ผู้วิจัยจึงปรับแบบจำลองใหม่  โดยผสมผสานระหว่างทฤษฏีและการปฏิบัติ  ด้วยการตัดเส้นทางตามสมมติฐานที่มีประสิทธิภาพเส้นทางต่ำกว่า .05 ออก  และเพิ่มเส้นทางที่มีในสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบจำลองเต็มรูปแบบในแบบจำลองแบบใหม่  ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับแบบจำลองให้ได้แบบจำลองที่ประหยัด (Parsimonious  Model) ผู้วิจัยจะตัดเส้นทางที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางต่ำกว่า .05  ออกแบบจำลองปรับใหม่  จนได้แบบจำลองที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางทุกเส้นทางไม่ต่ำกว่า.05ต่อจากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ผลพบว่า
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันมากที่สุด  และรองลงมาตามลำดับดังนี้
1.เป้าหมายของการแข่งขันกีฬา  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.356จำแนกเป็นผลทางตรง.322และผลทางอ้อม.034
2.ความวิตกกังวลทางจิต  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา-.250  โดยส่งผลทางตรงทั้งหมด
3.ผลการแข่งขันในการทดสอบที่ผ่านมา  โดยส่งผมรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา .181จำแนกเป็นผลทางตรง.123และผลทางอ้อม.058
4.ระดับความสามารถโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.181เป็นผลทางอ้อมทั้งหมด
5.ประสบการณ์แข่งขันโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในกรแข่งขันกีฬา.169จำแกเป็นผลทางตรง.190และผลทางอ้อม-.021
6.ความคาดหวังในความสำเร็จโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.155จำแนกเป็นผลทางตรง.144และผลทางอ้อม.011

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554



 เพื่อช่วยให้คุณเริ่มเดินเครื่องเล่นอย่างมั่นใจ เราขอเสนอ10 ข้อดีที่ได้จากการเล่นเทนนิส


1.ถือเป็นคุณสมบัติยอดเยี่ยมของเทนนิสก็ว่าได้ เพราะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยเฉพาะ ด้านหลัง แถมท่าเดินเหินก็สง่างาม เพราะท่วงท่าลีลาตลอดทั้งเกมผู้เล่นจะต้องอยู่ในท่าที่สมดุลพร้อมจะเคลื่อนตัวไปทางซ้าย ขวา หน้า หลัง ได้ตลอดเวลา

2.สรีระงามพละกำลังมา เทนนิสจะทำให้เห็นว่าเล่นแล้วพละกำลังจะมาเร็วกว่าการไปซิท-อัพเสียด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่านั้นสรีระยังจะเข้าทีเข้าทางด้วย ดูอย่าง มาเรีย ชาโปว่า สาวน้อยเจ้าเสน่ห์ ชาวรัสเซียสิ เชื่อเลยว่าหลายคนคงต้องการหุ่นงามๆอย่างเธอแน่ยิ่งถ้าคุณต้องการหุ่นที่สมดุลสมส่วน เทนนิสจะช่วยได้ อย่างกล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณก็จะปราศจากส่วนเกินด้วย

3.บริหารแขนได้อย่างดี เพราะการตีกลับไปกลับมาแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่แขนหลัง ส่วนบน หน้าอกและไหล่.

4 ลดความเครียดในแนวทางที่ไม่เป็นอันตราย คนที่เล่นเป็นประจำจะไม่ค่อยมีความเครียด มีอะไรที่มากดดันในใจก็สามารถตี ปลดปล่อยออกไปได้ อาจดูเหมือนเป็นการใช้กำลังแก้ปัญหา แต่มันก็เป็นแค่เพียงเกมกีฬา เมื่อจบเกมความรู้สึกที่ไม่ดีก็จะเริ่มจางหายไป แล้วทุกอย่างที่เคยเป็นปัญหาก็จะดีขึ้นเอง

5 เป็นคนหัวแหลม ชาญฉลาด จิตใจดี จากการศึกษาวิจัยในอเมริกาพบว่าการได้ประสานการทำงาน ทั้งมือและสายตา จะสามารถช่วยฝึกสติได้ ที่สำคัญเทนนิสทำให้เกิดการเชื่อมโยงเส้นประสาทใหม่ในสมอง ผู้ป่วยที่สูญเสียความทรงจำโดนแนะนำให้เล่นเทนนิสเพื่อฟื้นฟูการเชื่อมโยงระบบประสาทให้ดีขึ้น ผู้ที่เล่นอยู่เป็นประจำหลายคน เชื่อว่าการขับเคลื่อนทางด้านจิตประสาทจะยังคงดีเหมือนหนุ่มสาวแม้จะมีอายุมากแล้ว

6.ปอด - หัวใจ - สุขภาพสมบูรณ์ เมื่อทุกอย่างเกิดการเคลื่อนไหว การหมุนเวียนในร่างกายก็ดีขึ้นตามลำดับ เส้นเลือดหัวใจได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบบภายในการรับเลือดสูบฉีดอย่างทั่วถึง

7. เผาไหม้พลังงานส่วนเกิน ยิ่งเป็นเกมที่เล่นกลางแดดจะสามารถเผาไหม้ได้ถึง 250 – 350 แคลลอรี่ต่อชั่วโมง แล้วถ้าเล่นประเภทเดียวจะเผาไหม้มากเป็นสองเท่ากว่าปกติ

8 ยืดหยุ่นได้ทั่งตัว เทนนิสทำให้การเคลื่อนไหวของคุณดีขึ้นมันจะแข็งแรงขึ้น เป็นผลกำไรจากการที่ต้องใช้ร่างกายทั้งหมดบิดและเปลี่ยนทิศทางไปมาที่จะมุ่งไปรับและเสิร์ฟ

9 การบาดเจ็บลดน้อยลง คุณจะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทั่วไป เช่น หกล้ม กระแทก เป็นต้น ได้ 2 เท่ากว่าคนทั่วไป เพราะในระหว่างการเล่นคุณจะต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเล่นนานก็จะเกิดความชำนาญ

10 พลังทางเพศบรรเจิด ข้อนี้ถือเป็นของแถม เพราะว่าเมื่อคุณฝึกปรืออยู่เป็นประจำ สารเคมีในร่างกายที่ดีและมีประโยชน์ของคุณที่เรียกว่า “endorphins” จะหลั่งไหลมาดุลกระแสธารา แล้วคราวนี้ธรรมชาติแห่งอารมณ์ของคุณจะขับพลังเพศรสของคุณให้ขึ้นสูงลิ่ว... เอาเป็นว่าถ้าบ้านไหนคุณพ่อบ้านไปเล่นเทนนิสกลับมา คุณแม่บ้านเตรียมรับศึกหนักกันได้เลย

อย่างไรก็ตาม การเล่นเทนนิสควรฝึกให้อยู่ภายใต้ของการออกกำลัง บริหารร่างกาย อย่ามองให้เป็นเกมการแข่งขัน แล้วคุณจะรู้ว่ามันได้ให้อะไรมากมาย อย่างที่คุณคาดไม่ถึง ถ้ามีเวลาลองเล่นที่บ้านดูก็ได้ หากไม่สะดวกเรื่องอุปกรณ์จะเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่นแทนก็ได้ เพราะยังไงการเล่นกีฬาก็มีแต่ได้ไม่มีเสียอยู่แล้ว 
(^.^)b


°º¤ø,¸¸,ø¤º°`  °º¤ø,¸¸,ø¤º°`  °º¤ø,¸¸,ø¤º°`  °º¤ø,¸¸,ø¤º°`

การเล่นเทนนิส


การเล่นเทนนิส เป็นกีฬาที่สร้างความสนุกตื่นเต้นให้กับผู้เล่น ไม่เว้นแม้แต่ผู้ชม
จนคุณลืมไปเลยว่า ตัวเองกำลังออกกำลังกายอยู่ การตีเทนนิสเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้
ทักษะในการวิ่ง การตีลูก ต้องมีสมาธิสูง และสามารถใช้ประสาทสัมผัสที่ตาและมือ
ได้เป็นอย่างดี เทนนิสยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะที่แขน
ไหล่ เอว และขา
วิธีการเล่น
สำหรับมือใหม่ คุณควรฝึกฝนทักษะเบื้องต้นในการตีเทนนิส กับครูผู้มีความชำนาญ เพื่อคุณจะได้เรียนรู้เทคนิคที่จำเป็นต่างๆ ในการเล่น และใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ประโยชน์ที่ได้รับ
การเล่นเทนนิสช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้แข็งแรงขึ้น เช่น กล้ามเนื้อบริเวณ แขน ไหล่และหลัง เมื่อคุณเสิร์ฟลูก และตีโต้ตอบ, กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ขา และน่อง เมื่อคุณวิ่งไปมา และเนื่องจากเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้เวลาเล่นนานก็จะรู้แพ้รู้ชนะ จึงเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลดีมากชนิดหนึ่ง

การวอร์มอัพและการผ่อนคลาย
การเดินไปรอบๆ สนามหรือ ช่วยเก็บลูกให้เพื่อนที่กำลังเล่นอยู่ ก็ถือเป็นการวอร์มอัพ และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ดีมากวิธีหนึ่ง
แล้วอย่าลืมบริหารร่างกาย ด้วยท่าบริหารแขนขา เอว สะโพก หลังไหล่ และมือ เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนลงเล่น และช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บต่างๆ ได้ดี

อุปกรณ์ที่จำเป็น
แร็กเกต (Racket): มีทั้งทำด้วยไม้ ตะกั่วดำ ไททาเนียม และวัสดุประเภทอื่นๆ
แร็กเกตที่ทำจากวัสดุผสม (Composite rackets): ทำจากตะกั่วดำผสมกับวัสดุอื่นๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นตัวดี และรับแรงสะเทือนจากการตีได้ดีกว่าแร็กเกตที่ทำจากไม้ และที่ทำจากตะกั่วดำอย่างเดียว
แร็กเกตที่ทำจากไททาเนียม (Titanium rackets): เป็นแบบใหม่ล่าสุด ที่มีน้ำหนัก
เบากว่าแบบอื่นๆ และเป็นที่นิยมมากพอๆ กับแร็กเกตที่ทำจากวัสดุผสม
แร็กเกตขนาดใหญ่พิเศษ (Oversized rackets): ทำให้ตีได้มีน้ำหนักมากขึ้น
แต่ควบคุมทิศทางการตีได้ยากกว่าขนาดกลาง ถ้าให้ดีคุณควรสอบถามจาก
ผู้เชี่ยวชาญว่าแร็กเกต แบบไหนที่เหมาะกับสไตล์การตีของคุณที่สุด (แต่แร็กเกตแบบโอเวอร์ไซด์ ที่ทำจากวัสดุผสม จะเป็นแบบที่เหมาะกับมือใหม่ๆ มากที่สุด)
ผ้าพันแร็กเกต (Grip wrap)มักทำจากผ้านุ่มๆ ใช้พันรอบๆ แร็กเกตกันลื่น
และช่วยซับเหงื่อที่มือ
รองเท้า: รองเท้าที่ดีสำหรับการเล่นเทนนิส ต้องสามารถป้องกันอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าดี
และต้องมีส้นหนาๆ เพื่อรองรับแรงกระแทก และกันลื่นได้ด้วย ถ้าคุณใส่บ่อยๆ ก็คุ้มที่
จะเลือกซื้อรองเท้าสำหรับเล่นเทนนิสไว้สักคู่ แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินแพงๆ ถ้าใส่นานๆครั้งคุณก็สามารถใช้รองเท้าผ้าใบ คู่เดียวกับที่ใส่ไปวิ่งทุกๆเช้านั่นแหละค่ะ แต่ดูคู่ที่พื้นยางยังดีอยู่จะได้ไม่ลื่นก้นจ้ำเบ้าเวลาเล่น

รู้หลักการเล่นเทนนิสเบื้องต้นไปแล้วนะครับ ต่อไปจะนำความรู้อะไรมาฝากอีกบ้าง ติดตามกันนะคร้าบบบบบ


*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*   *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*   *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*   *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

...การจับไม้เทนนิส...



วันนี้ผมนำการจับไม้เทนนิสในแบบต่างๆที่ถูกวิธีมาให้ลองศึกษากันดูนะครับ   (◕‘_’◕)

การจับไม้เทนนิสที่ถูกหลัก  จะทำให้การตีลูกมีประสิทธิภาพและแม่นยำ  การจับไม้เพื่อตีลูกในลักษณะต่างๆ  จะใช้ฐานนิ้วชี้ของมือข้างที่กำไม้ สัมผัสกับด้านต่างๆ ทั้งแปดของด้ามไม้เทนนิส เป็นตัวอ้างอิง  ซึ่งด้านทั้งแปดหรือที่เรียกว่า กริพ(GRIP) ได้แก่ ส่วนบน(Top), ส่วนล่าง(Bottom), ด้านขวา(Right side), ดัานซ้าย(Left side), Bevel 1(ด้านเอียงที่ 1), Bevel 2, Bevel 3 และ Bevel 4





"กริพที่คุณจับ จะขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตีลูกแบบไหน"
โดยพื้นฐานแล้ว  จะแบ่งกริพเพื่อใช้ตีลูกในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.        CONTINENTAL GRIP  คือ กริพเดียวที่สามารถใช้ได้กับการตีทั้งหมด  แต่ก็ไม่ใช่กริพที่นิยมฝึกกันในหมู่ผู้เล่นรุ่นใหม่ๆ เพราะหากเล่นแบบพลิกแพลงเทคนิคจะทำได้ไม่ดีเท่าใดนัก  อย่างไรก็ตาม Continental grip ยังคงเป็นพื้นฐานของการใช้เสิร์ฟ, การวอลเล่ย์, การ Smash หรือตีลูกเหนือศีรษะ, การตีลูกสไลด์  และการตีลูกเพื่อการป้องกัน
การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านเอียงที่ 1 (bevel 1)  หรือ Bevel 4 สำหรับคนตีมือซ้าย
ข้อดี:  ลูกที่ตีออกเป็นแบบ flat ที่พุ่งตรงและแรง  การช่วยในเกมส์รับได้ดี โดยเฉพาะจังหวะที่ต้องการความรวดเร็ว  เป็นกริพมาตรฐานที่ใช้ในการเสิร์ฟและการวอลเล่ย์ของนักเทนนิส
ข้อเสีย:  เป็นเรื่องยากที่จะใช้ตีลูกแบบ topspin  นั่นหมายถึง การตีลูกที่ต่ำกว่าระดับเน็ตจะทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก
2.        EASTERN FOREHAND GRIP
การจับ:  จับด้ามไม้โดยให้ตำแหน่งของฐานนิ้วชี้อยู่บนด้านขวาของด้าม(right side)  หรือ Left side สำหรับคนตีมือซ้าย  วิธีง่ายๆ ที่ใช้หา Eastern Forehand Grip  คือ ให้ทาบฝ่ามือข้างที่ใช้ตีลงบนหน้าไม้เทนนิส(บนหน้าเอ็น)  แล้วรูดฝ่ามือลงมาหาด้ามไม้ที่จับ  จะพบว่าฐานของนิ้วชี้จะตรงกับตำแหน่งของ Eastern forehand grip
ข้อดี:  อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกริพที่ง่ายที่สุดสำหรับการตีลูกโฟแฮนด์  การตีลูกได้ทั้งแบบ topspin หรือแบบ flat  การเปลี่ยนจาก Eastern forehand grip ไปเป็นกริพอื่นๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว  ทำให้เป็นทางเลือกที่ฉลาดของผู้เล่นที่นิยมขึ้นตีหน้าเน็ต
ข้อเสีย:  จุดตีจะกว้างออกไปมากกว่า Continental grip  การตีลูกสูงทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก  และลูกที่ตีมีแนวโน้มทีจะเป็น flat มากกว่า  ลูกจะติด topspin ได้ไม่เต็มที่
3.        SEMI-WESTERN FOREHAND GRIP
การจับ:  จาก Eastern forehand grip ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้าย ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
ข้อดี:  การตีลูกแบบ topspin ทำได้ดีกว่ากริพที่ผ่านมา  ซึ่งทำให้ลูกมีโอกาสโค้งผ่านหน้าเน็ตมากกว่า
ข้อเสีย:  มักประสบกับปัญหากับการตีลูกที่ต่ำและใกล้ตัว
4.        WESTERN FOREHAND GRIP  คือ  กริพสุดท้าย(สุดโต่ง) ของการตีลูกโฟร์แฮนด์  นิยมใช้กันในหมู่ผู้เล่นบนคอร์ดดิน และเยาวชนรุ่นใหม่ๆ  นักเทนนิสมืออาชีพที่ใช้ เช่น  Rafael Nadal
การจับ:  จาก Semi-Western forehand grip  ให้หมุนข้อมือในทิศทางตามเข็มนาฬิกามาอีก 1 ช่อง(bevel)  สำหรับคนตีซ้ายให้หมุนในทิศทางตรงกันข้าม
ข้อดี: แรงจากการตวัดข้อมือที่จับโดยกริพนี้  จะติด topspin ได้รุนแรงที่สุด  ลูกที่กระทบพื้นจะกระดอนออกต่อค่อนข้างแรง  มีโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามต้ิองถอยกลับไปตั้งรับหลังเส้นลึกขึ้น
ข้อเสีย:  ลูกบอลจากฝั่งตรงข้ามที่ตีมากระทบพื้นแล้วกระดอนต่ำและเร็ว(โดยเฉพาะบนฮาร์ดคอร์ต)  เป็นอุสรรคต่อผู้่เล่นที่จับกริพนี้เป็นอย่างมาก  ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เล่นต้องใช้ความรวดเร็วในการสโตรค(stroke) บวกกับกำลังข้อมือมหาศาล  ในการตีบอลที่จุดกระทบและ topspin ให้ทัน
5.        EASTERN BACKHAND GRIP
การจับ:  วางฐานของนิ้่วชี้ที่ส่วนบนสุดของกริพ(top)
ข้อดี:  เป็นกริพอเนกประสงค์ของการตีลูกแบคแฮนด์  ผู้เล่นบางคนใช้ตีลูกสไลด์ หรือไม่เช่นนั้นก็สามารถพลิกไปเป็น Continental grip ได้อย่างรวดเร็ว  Eastern backhand grip ยังใช้เป็นกริพสำหรับการเสิร์ฟแบบ Kick serves
ข้อเสีย:  การตีลูกที่พุ่งมาสูงกว่าระดับไหล่ทำได้ไม่ค่อยดีนัก  บ่อยครั้งที่ทำให้ผู้เล่นต้องตีลูกแบบสไลด์กลับไปโดยบังคับ  รวมไปถึงจุดอ่อนของ Kick serves  ที่ฝั่งตรงข้ามมักจะรีเทิร์นลูกกลับมาในช่วงจุดตีที่สูงกว่าระดับไหล่
6.        EXTREME EASTERN OR SEMI-WESTERN BACKHAND GRIP
การจับ:  ที่ bevel 4 สำหรับมือขวา  หรือ bevel 1 สำหรับมือซ้าย
ข้อดี:  จุดที่ขยายออกไป  ทำให้การตีลูกที่สูงกว่าระดับไหล่ทำได้คล่องกว่ากริพแบคแฮนด์ที่ผ่านมา รวมถึงการ topspin
ข้อเสีย:  คล้ายกันกับการจับ Weatern forehand grip  ตรงที่ตีลูกต่ำได้ไม่ค่อยดี
7.        TWO-HAND BACKHAND GRIP
การจับ:  วิธีจับสำหรับการตีลูกแบคแฮนด์สองมือวิธีหนึ่ง  คือ ใช้มือขวาจับไม้ที่ Continental grip ช่วงด้านบน  และมือซ้ายจับไม้ที่ Semi-Western forehand grip ช่วงด้านล่าง(สำหรับคนถนัดซ้ายให้จับตรงกันข้ามกัน)
ข้อดี:  เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะตีแบคแฮนด์มือเดียว  สามารถตีลูกพุ่งต่ำได้ดี รวมถึงการตีลูกระดับไหล่ที่ใช้ทั้งสองมือประคองช่วยกัน
ข้อเสีย:  ช่วงตีสั้นกว่าการตีแบคแฮนด์มีเดียว  การมีมือข้างที่สองช่วยประคองเป็นการล็อคหน้าไม้ไว้ ทำให้ไม่สามารถตีลูกวอลเลย์และลูกสไลด์ได้

แอนดี้   ร็อดดิก

ราฟาเอล   นาดาล

คาลอส   โมย่า

เจอร์เก้น   เมลเซอร์

โรเจอร์   เฟดเดอเรอร์


การเลือกจับด้านกริพ  ให้คำนึงถึงธรรมชาติในตัวคุณ(คุณเป็นผู้รู้ตัวดีที่สุด)  หาด้านกริพที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและเข้ากับตัวคุณมากที่สุดเวลาเล่น  นั่นแหละคือกริพของคุณ


...จบแล้วสำหรับวิธีการจับไม้เทนนิสที่ถูกวิธีนะครับ ครั้งหน้าผมจะนำเคล็ดวิธีเกี่ยวกับการเล่นเทนนิสอะไรมาฝากอีกบ้าง ติดตามชมนะคร้าบบบบบบ   

(◕‿◕✿)


*.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:*

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติเทนนิสแกรนด์สแลม


ครั้งนี้นำประวัติเทนนิสแกรนด์สแลมมาฝากกันนะครับ (≧▽≦)

โรเจอร์ เฟดเดอร์เรอร์ นัดหวดจากแดนนาฬิกา
ปัจจุบันมือวางอันดับ3ของโลก



แกรนด์สแลม เป็นชื่อเรียกการแข่งขันเทนนิสรายการใหญ่ที่สุด 4 รายการของโลก บนพื้นผิวคอร์ทและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย
  • ออสเตรเลียนโอเพน แข่งขันในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ประเทศออสเตรเลีย บนฮาร์ดคอร์ท
  • เฟรนช์โอเพน แข่งขันในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่ประเทศฝรั่งเศส บนคอร์ทดิน
  • วิมเบิลดัน แข่งขันในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ที่ประเทศอังกฤษ บนคอร์ทหญ้า
  • ยูเอสโอเพน แข่งขันในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา บนฮาร์ดคอร์ท

ราฟาเอล นาดาล เจ้าแห่งคอร์ทดิน
ปัจจุบันมือวางอันดับ2ของโลก

คำว่าแกรนด์สแลมถูกใช้ในวงการเทนนิสเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933  โดยจอห์น คีราน คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ในปัจจุบันทั้งสี่รายการใช้เวลาแข่งขันสองสัปดาห์ ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวจะมีนักเทนนิสเข้าร่วมแข่งขันในรอบเมนดรอว์ 128 คน นั่นคือผู้ชนะเลิศต้องชนะติดต่อกัน 7 ครั้งติดต่อกันจึงจะได้ครองตำแหน่ง



โนวัค ยอโควิช แชมป์ชายเดี่ยววิมเบิลดันปี 2011
ปัจจุบันมือวางอันดับ1ของโลก

นอกจากจะเป็นชื่อเรียกรายการแข่งขันแล้ว แกรนด์สแลมยังถูกนำมาใช้เรียกแสดงความประสบความสำเร็จของนักเทนนิสที่ชนะเลิศครบทั้งสี่รายการ ความแตกต่างกันของพื้นผิวสนามและสภาพอากาศ (ออสเตรเลียนโอเพนอากาศร้อน วิมเบิลดันมักมีฝนตก ยูเอสโอเพนอากาศเย็น) ทำให้เป็นการยากที่นักเทนนิสคนใดจะได้แกรนด์สแลม และยากยิ่งขึ้นถ้าจะชนะทั้งสี่รายการในปีเดียวกัน ในประวัติศาสตร์มีนักเทนนิสประเภทเดี่ยวเพียงห้าคนที่ชนะเลิศแกรนด์สแลมทุกรายการในปีเดียวกัน คือ ดอน บัดจ์ และ รอด เลเวอร์ ในประเภทชายเดี่ยว มัวรีน คอนนอลลี, มาร์กาเรต สมิธ คอร์ท และ สเตฟี กราฟ ในประเภทหญิงเดี่ยว


จบแล้วครับสำหรับประวัติเทนนิสแกรนด์สแลม ครั้งหน้าพบกันใหม่ แล้วคอยติดตามชมว่าผมจะนำเกร็ดความรู้อะไรเกี่ยวกับเทนนิสมาฝากกันอีกบ้าง...สวัสดีครับ^^

               ×º°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º× ×º°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º× ×º°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º×