วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความปริญญาเอกพลศึกษา

หัวข้อวิทยานิพนธ์                   ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา
โดย                                          นายนภพร        ทัศนัยนา
ภาควิชา                                   พลศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต

1.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
            เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา  ปัจจัยคัดสรรที่นำมาศึกษาครั้งนี้  ประกอบด้วย  อายุ  ระดับความสามารถ  ประสบการณ์แข่งขัน  ศรัทธาที่มีต่อผู้ฝึกสอน  ความสำคัญของการแข่งขัน  เป้าหมายของการแข่งขัน  ความพร้อมในการฝึกซ้อมความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ  ผลการแข่งขันและการทดสอบที่ผ่านมา  บรรยากาศในการจัดการแข่งขัน  ความกลัว  ความยากของความสำเร็จ  ความคาดหวังในความสำเร็จ  ความเชื่อมั่นในตนเองความวิตกกังวลทางกาย  และความวิตกกังวลทางจิต

2.กรอบแนวคิด
            การล่าระดับปัจจัยสาเหตุและเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ  สร้างขึ้นโดยอาศัยการวิเคราะห์และสังเคราะห์  เอกสาร  ผลการวิจัย  ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ  และสร้างแบบจำลองตามกรอบแนวคิดไว้ดังนี้

3.ขอบเขตของการวิจัย
            เนื่องจากความจำกัดหลายประการ  การวิจัยนี้จึงกำหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ดังนี้
            1.การวิจัยนี้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักกีฬา  กรีฑา  ว่ายน้ำ  และจักรยาน
            2.ปัจจัยที่ศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย  อายุ  ระดับความสามารถ  ประสบการณ์ในการแข่งขัน  ศรัทธาที่มีต่อผู้ฝึกสอน  ความสามารถของการแข่งขัน  เป้าหมายของการแข่งขัน  เป้าหมายของการแข่งขัน  ความพร้อมในการฝึกซ้อม  ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ  ผลการแข่งขันทดสอบที่ผ่านมา  ความกลัว  บรรยากาศการจัดการแข่งขัน  ความยากของความสำเร็จ  ความคาดหวังในความสำเร็จ  ความเชื่อมั่นในตนเองความวิตกกังวลทางกาย  และความวิตกกังวลทางจิต
            3.การวิจัยนี้มุ่งศึกษาด้านจิตวิทยา  ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ  ประเมินจากความรู้สึกและความพึงพอใจ  ของนักกีฬาแต่ละช่วงในช่วงก่อนการแข่งขัน

4.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
            1.ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ฝึกสอน  ผู้จัดการทีมและนักกีฬาในการเตรียมนักกีฬาช่วงก่อนการแข่งขันให้นักกีฬามีระดับปัจจัยต่างๆ  ที่เอื้ออำนวยต่อผลสำเร็จในการแข่งขันกีฬา  ตามลักษณะและทิศทางของผล  ที่ปัจจัยนั้นมีต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา
            2.การบุกเบิกความรู้ทางด้านจิตวิทยาการกีฬา  โดยเฉพาการศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา
8.2.2.5.วิเคราะห์ผลทางตรง  และทางอ้อมโดยการสร้างโปรแกรมคำนวณตามาวิธีการนำเสนอโดยเพดาเซอร์  (Pedhazur,1982)
8.3.วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
            8.3.1.การวิเคราะห์องค์ประกอบ  วิเคราะห์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม ของสถาบันคอมพิวเตอร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ด้วยโปรแกรม Spss
            8.3.2.การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรายคู่วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิเคราะห์ผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยโปรแกรม SPSSPC+
8.3.3.วิเคราะห์สอดคล้องของแบบจำลองและวิเคราะห์ผล  ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  โดยใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้นด้วย โลตัส (LOTUS)
9.สรุปผลการวิจัยแบบจำลองตามสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ผู้วิจัยจึงปรับแบบจำลองใหม่  โดยผสมผสานระหว่างทฤษฏีและการปฏิบัติ  ด้วยการตัดเส้นทางตามสมมติฐานที่มีประสิทธิภาพเส้นทางต่ำกว่า .05 ออก  และเพิ่มเส้นทางที่มีในสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบจำลองเต็มรูปแบบในแบบจำลองแบบใหม่  ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับแบบจำลองให้ได้แบบจำลองที่ประหยัด (Parsimonious  Model) ผู้วิจัยจะตัดเส้นทางที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางต่ำกว่า .05  ออกแบบจำลองปรับใหม่  จนได้แบบจำลองที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางทุกเส้นทางไม่ต่ำกว่า.05ต่อจากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ผลพบว่า
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันมากที่สุด  และรองลงมาตามลำดับดังนี้
1.เป้าหมายของการแข่งขันกีฬา  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.356จำแนกเป็นผลทางตรง.322และผลทางอ้อม.034
2.ความวิตกกังวลทางจิต  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา-.250  โดยส่งผลทางตรงทั้งหมด
3.ผลการแข่งขันในการทดสอบที่ผ่านมา  โดยส่งผมรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา .181จำแนกเป็นผลทางตรง.123และผลทางอ้อม.058
4.ระดับความสามารถโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.181เป็นผลทางอ้อมทั้งหมด
5.ประสบการณ์แข่งขันโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในกรแข่งขันกีฬา.169จำแกเป็นผลทางตรง.190และผลทางอ้อม-.021
6.ความคาดหวังในความสำเร็จโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.155จำแนกเป็นผลทางตรง.144และผลทางอ้อม.011

5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยนี้  ประกอบด้วยนักกีฬากรีฑา  ว่ายน้ำ  และจักยานที่เข้าร่วมแข่งขันมหกรรมกีฬาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยนานาชาติ   ณกรุงเทพมหานครจำนวน  1226  คนผู้วิจัยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มเลือกแบบง่าย(sampling) ได้
กลุ่มตัวอย่าง 296 คน จำแนกเป็นนักกรีฑา 177 คน แยกเป็นชาย 103 คน หญิง 74 คน นักกีฬาว่ายน้ำ
 93 คน แยกเป็นชาย  55  คน  หญิง  38  คน  และนักกีฬาจักรจักยาน 26 คน แยกเป็นชาย 18 คน
หญิง 8 คน

 6.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา                       ซีเอสเอไอ 2 (CSAI – 2) ซึ่งผู้วิจัยแปลจาก  มาร์เต็น  วีลเลย์  และเบอร์ตัน                 (Martens,Vealey,and Burton,1990)  และแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง
            แบบวัด ซีเอสเอไอ 2  ผู้วิจัยได้แปลแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คนตรวจสอบความถูกต้องนำไปทดลองใช้กับนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในกองทับบก  จำนวน 60  คน ได้ค่าความเที่ยง 0.75  และนำไปทดลองใช้กับนักกีฬาที่แข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2535 ณ  จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 438 คน ได้ค่าความเที่ยง 0.80
แบบวัดปัจจัยคัดสรรผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คนตรวจสอบและนำไปทดลองใช้กับนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันภายในกองทัพบก  จำนวน60คน  ได้ค่าความเที่ยง0.86 และนำไปทดลองกับนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ
                                                                                                                                                                  
ประจำปี   2545 จำนวน 438 คน ได้ค่าความเที่ยง 0.88 แบบวัดปัจจัยคัดสรรมีจำนวน  50 ข้อ แต่เมื่อนำมาวิเคราะห์ตัวประกอบแล้ว   เหลือข้อคำถามที่นำไปใช้ในการวิจัยได้

7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้มอบหมายให้พนักงานแจกแบบสอบถามและแบบวัดที่ใช้ในการวิจัย  แก่นักกีฬา
ที่มีรายชื่อตามบัญชีสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  โดยให้นักกีฬาดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ก่อนลงท่าการแข่งขันในแต่ละภาคเช้าหรือภาคบ่าย



8. สถิติและการวิเคราะห์
            8.1   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เครื่องมือในการวิจัย
8.1.1   ความเที่ยงของแบบวัดปัจจัยคัดสรร และแบบวัดความวิตกกังวนในการแข่งขันกีฬา
ใช้วิธีการทางสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาท
8.1.2การจัดกลุ่มและสกัดข้อประเด็นคำถามในแบบวัดปัจจัยคัดสรรใช้วีธีวิเคราะห์
ตัวประกอบหลัก (principle component method)  หมุนแกนแบบออร์ธอ
โกนอล(Orthogonal) ด้วยวิธี (varimax)
8.2.1 การบรรยายข้อมูลพื้นฐาน ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด
8.2.2 การวิเคราะห์เส้นทาง
8.2.2.1 วิเคราะห์ควานสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรายคู่ โดยวิธีเพียร์สันโปรตักโมเมนต์
8.2.2.3 วิเคราะห์ทดถ่อยพหุคูณ  แบบบังคับทุกคัวแปรอิสระ ข้าพร้อมกัน
8.2.2.4 ทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลอง โดยวิธีการทางสเป็คค(specht)
8.2.2.5.วิเคราะห์ผลทางตรง  และทางอ้อมโดยการสร้างโปรแกรมคำนวณตามาวิธีการนำเสนอโดยเพดาเซอร์  (Pedhazur,1982)
8.3.วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
            8.3.1.การวิเคราะห์องค์ประกอบ  วิเคราะห์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม ของสถาบันคอมพิวเตอ0ร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ด้วยโปรแกรม Spss
            8.3.2.การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรายคู่วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิเคราะห์ผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยโปรแกรม SPSSPC+
8.3.3.วิเคราะห์สอดคล้องของแบบจำลองและวิเคราะห์ผล  ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  โดยใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้นด้วย โลตัส (LOTUS)

9.สรุปผลการวิจัย
แบบจำลองตามสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ผู้วิจัยจึงปรับแบบจำลองใหม่  โดยผสมผสานระหว่างทฤษฏีและการปฏิบัติ  ด้วยการตัดเส้นทางตามสมมติฐานที่มีประสิทธิภาพเส้นทางต่ำกว่า .05 ออก  และเพิ่มเส้นทางที่มีในสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบจำลองเต็มรูปแบบในแบบจำลองแบบใหม่  ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับแบบจำลองให้ได้แบบจำลองที่ประหยัด (Parsimonious  Model) ผู้วิจัยจะตัดเส้นทางที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางต่ำกว่า .05  ออกแบบจำลองปรับใหม่  จนได้แบบจำลองที่มีสัมประสิทธิ์เส้นทางทุกเส้นทางไม่ต่ำกว่า.05ต่อจากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ผลพบว่า
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันมากที่สุด  และรองลงมาตามลำดับดังนี้
1.เป้าหมายของการแข่งขันกีฬา  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.356จำแนกเป็นผลทางตรง.322และผลทางอ้อม.034
2.ความวิตกกังวลทางจิต  โดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา-.250  โดยส่งผลทางตรงทั้งหมด
3.ผลการแข่งขันในการทดสอบที่ผ่านมา  โดยส่งผมรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา .181จำแนกเป็นผลทางตรง.123และผลทางอ้อม.058
4.ระดับความสามารถโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.181เป็นผลทางอ้อมทั้งหมด
5.ประสบการณ์แข่งขันโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในกรแข่งขันกีฬา.169จำแกเป็นผลทางตรง.190และผลทางอ้อม-.021
6.ความคาดหวังในความสำเร็จโดยส่งผลรวมต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา.155จำแนกเป็นผลทางตรง.144และผลทางอ้อม.011

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น